“ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” ในสายตาของนักอักษรศาสตร์

บทความเกี่ยวกับผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ จาก อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ จุฬาฯ ครับ

บทความพิเศษ

โดย…ดร.สุดา รังกุพันธุ์ ,ดร. อนันต์ เหล่าเลิศวรกุล
คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ภาษาเป็นเรื่องของความเข้าใจ เมื่อใครสักคนเกิดพูดไม่เข้าใจขึ้นมา และไม่ยอมอธิบายให้ผู้อื่นเข้าใจ ผู้ฟังคงหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องตีความเอาเอง เมื่อตีความ ย่อมเป็นธรรมดาอยู่เองที่จะมีทั้งตีความถูก ตีความคลาดเคลื่อน หรือหนักหนาถึงขั้นตีความผิด ครั้นจะห้ามไม่ให้ผู้ฟังตีความเอาเองก็คงห้ามกันไม่ได้

ภาษาหรือคำพูดที่ผู้คนพยายามตีความกันมากที่สุดตลอด 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา คือ คำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร รักษาการนายกรัฐมนตรี ที่กล่าวต่อที่ประชุมหัวหน้าส่วนราชการซึ่งเป็นข้าราชการระดับ 10 ขึ้นไป เมื่อวันที่ 29 มิถุนายน 2549 ตลอดเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง ในวันนั้น พ.ต.ท.ทักษิณ พูดหลายเรื่องหลายประเด็น แต่คำพูดของ พ.ต.ท.ทักษิณ ที่ผู้คนวิพากษ์วิจารณ์กันมากที่สุด และพยายามอย่างยิ่งที่จะตีความมากที่สุด คือ ข้อความที่กล่าวถึง “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” ดังนี้
Continue reading “ผู้มีบารมีนอกรัฐธรรมนูญ” ในสายตาของนักอักษรศาสตร์

เรื่องตลกทางการเมือง

นักการเมืองคนหนึ่งพูดว่า…

“การเมืองในปัจจุบันมันวิปริต มันตลก ตลกที่ว่าชาวบ้านตาดำๆ คนจนๆ ทั้งหลาย ต้องพากันแห่มาปลอบใจคนที่รวยล้นฟ้า มันน่าจะเกิดในทางตรงกันข้ามมากกว่า”

VIP Call center?

ขอพูดถึงเรื่องการเมืองได้ไหม เพราะผมมีความไม่เข้าใจหลายๆ อย่าง

ลองอ่านข่าว “ทรท.เปิดคอลเซ็นเตอร์“จากข่าวมีวัตถุประสงค์อยู่ 3 ข้อหลัก
1) การให้ข้อมูลเกี่ยวกับนโยบายพรรค หรือกิจกรรมการเมืองของพรรคทุกอย่าง
2) การให้บริการรับข้อมูลร้องเรียนในเรื่องต่างๆ อาทิ การไม่ได้รับบริการจากโรงพยาบาลของรัฐหรือเจ้าหน้าที่ตำรวจ
3) ให้บริการระยะยาว เช่น การรับแจ้งเบาะแสยาเสพติดหรือสิ่งผิดกฎหมายในพื้นที่ต่างๆ

วันนี้มีข่าวเรื่องการเปิดทำการของ call center นี้ โดยมีหัวหน้าพรรคไปทำการเปิดระบบ พร้อมทั้งลองรับโทรศัพท์ด้วยตนเอง มีรายหนึ่งร้องเรียนเกี่ยวกับยาเสพติดในท้องที่ หัวหน้าพรรคก็ต่อสายไปคุยกับตำรวจผู้รับผิดชอบในท้องที่นั้นทันที

ตัวอย่างข้างบนก็ดูดีนะครับ

แต่ผมก็ยังสงสัยในข้อ 2) อยู่ ถ้าผมเป็นสมาชิกพรรคแล้วผมมีเหตุที่จะต้องใช้บริการจากโรงพยาบาลหรือตำรวจ (ตำรวจมีหน้าที่บริการประชาชน ถูกไหมครับ) ซึ่งบังเอิญว่างานของโรงพยาบาลหรือตำรวจนั้นมีมากจนให้บริการผมไม่ทันใจ ผมก็โทรไปแจ้ง call center ให้ติดตามให้ แน่นอนว่าดีกับผมล่ะ ผมเหมือนจะได้สิทธิพิเศษที่จะได้รับบริการตรงนี้ เรื่องของผมที่ค้างคาอาจจะดำเนินการได้เร็วขึ้น

แล้วประชาชนคนตาดำๆ ก็ได้แต่มองตาปริบๆ

ผมว่าคงมีประชาชนทั่วๆ ไปจำนวนมากที่ไม่ได้เป็นสมาชิกพรรคการเมืองใดพรรคการเมืองหนึ่ง อย่างน้อยผมก็คนนึงหละ ผมไม่มีเส้นสาย ผมก็คงต้องรอ อย่างมากก็เข้าไปถามไปตามเรื่องด้วยตัวเอง ซึ่งมันจะเร็วขึ้นนั้นก็ไม่รู้ ไม่มีอะไรการันตีเลย

แล้วตำรวจหรือโรงพยาบาลจะเป็นอย่างไร ที่เหมือนมี call center โทรมาสอบถามติดตาม โดยหน่วยงานเจ้าของ call center นั้นเป็นพรรคการเมืองพรรคใหญ่ของประเทศที่มีหัวหน้าพรรคเป็นถึงผู้นำประเทศ

จะให้ข้อมูลเฉยๆ แล้วปฏิบัติงานไปตามปกติ ตามขั้นตอนเดิม หรือจะเร่งรัดคิว แทรกและแซงเรื่องของสมาชิกพรรคขึ้นมาก่อนคนธรรมดาทั่วๆ ไป

จริงอยู่ที่แต่ละแห่งย่อมมีปัญหาในการทำงาน บางแห่งอาจดำเนินการชักช้าและมีปัญหาจริงๆ จนกระทั่งประชาชนเดือดร้อน แล้วทำไมรัฐไม่คิดทำ call center ขึ้นมาเองบ้าง ทำงานที่มันเหมือนๆ call center ของ ทรท. นี่แหละ แต่เน้นตรงข้อ 2) ให้มากหน่อย แล้วคอยติดตามตรวจสอบปัญหา เพื่อที่จะรวบรวมแล้วนำมาแก้ไขทั้งระบบ

อย่างนี้ถ้าเกิดมีใครสักคนอยากจะตั้ง call center ทำนองเดียวกันนี้ขึ้นมาบ้างได้ไหม เพื่อทำหน้าที่เร่งรัดติดตามงานที่คั่งค้างชักช้า เปิดเป็นบริษัทรับติดตามงานล่าช้าของรัฐทั่วราชอาณาจักร

ผมได้ยินนายกให้สัมภาษณ์ว่า จะให้เน้นดูแลจังหวัดที่ให้การสนับสนุนพรรคก่อน เมื่อรวมกับ call center ด้วยแล้วทำให้งงๆ ว่า ประชาชนคนไทยจะถูกแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มแล้วหรือไร คือ กลุ่มที่เป็นสมาชิกและไม่เป็นสมาชิกของพรรค เหมือนเป็นกลุ่มคน VIP และคนธรรมดาทั่วๆ ไป

เข้าใจว่านี้เป็นกลยุทธ์หนึ่งที่จะแสดงให้เห็นว่าผู้ที่เป็นสมาชิกของพรรคนั้นจะได้รับสิทธิพิเศษกว่าคนอื่นๆ ซึ่งอาจจะทำให้มีคนสนใจสมัครเป็นสมาชิกของพรรคมากขึ้น นัยว่าเป็นเรื่องของการเอา CRM (Customer Relationship Management) มาใช้

น่าน้อยใจสำหรับคนธรรมดาๆ ชาวบ้านตาดำๆ ทั่วไปไหม ที่อยู่ดีๆ คนข้างบ้านก็กลายเป็นกลุ่มคน VIP ไปซะงั้น