ความเห็นเกี่ยวกับพรบ.กระทำผิดคอมฯ

ความเห็นส่วนหนึ่งจากข่าว “ไอเอสพีบี้กลับไอซีที เร่งสร้างความเข้าใจ ก่อนบังคับ 18 ก.ค.นี้
http://www.thannews.th.com/detialnews.php?id=T0122325&issue=2232 

นางมรกต กุลธรรมโยธิน นายกสมาคมผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตไทยหรือไอเอสพี.

การจัดเก็บข้อมูลดังกล่าวนั้นส่งผลกระทบต่อต้นทุนการให้บริการแน่นอน ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้คำนวณต้นทุนที่เพิ่มขึ้น แต่ถ้ามองในมุมกลับเชื่อว่าพ.ร.บ.ดังกล่าวจะช่วยให้โลกอินเตอร์เน็ต ไม่ใช่เรื่องน่ากลัวอีกต่อไปและช่วยดึงดูดให้คนเข้ามาใช้อินเตอร์เน็ตมากขึ้น

กฎหมายดังกล่าวเปลี่ยนพฤติกรรมของผู้ใช้มากพอสมควร ซึ่งส่วนใหญ่จะไม่รู้วิธีการจัดเก็บข้อมูล โดยกระทรวงไอซีทีจะต้องเร่งสร้างความเข้าใจและสร้างความตื่นตัว

นางภูมิจิต ศิระวงศ์ประเสริฐ อุปนายกสมาคมผู้ดูแลเว็บไทย

เรื่องที่จะให้ผู้บริการเว็บจัดเก็บข้อมูลให้รู้ถึงผู้ใช้บริการ ซึ่งหมายถึงการเก็บข้อมูลบัตรประชาชน โดยได้พยายามเจรจาต่อรองกับกระทรวงไอซีทีให้จัดเก็บเฉพาะหมายเลขไอพีที่เข้ามาได้หรือไม่ เนื่องจากการเก็บข้อมูลบัตรประชาชน นั้นถือเป็นเรื่องผิดธรรมชาติของเว็บไซต์ที่ต้องการให้คนเข้ามาใช้บริการมากๆ

สมาคมได้มีส่วนเข้าไปแสดงความเห็นเกี่ยวกับการร่างประกาศกระทรวง เรื่องหลักเกณฑ์การจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ และได้พยายามเจรจาให้ผ่อนปรนเกณฑ์บางข้อที่เกี่ยวข้อง อาทิ กำหนดผู้ให้บริการจัดเก็บเนื้อหา หรือคอนเท้นต์ อีเมล์ เป็น 90 วัน ซึ่งมองว่าควรเก็บข้อมูลเฉพาะเส้นทางเข้าออกของอีเมล์ก็เพียงพอแล้ว

“แนวทางที่เสนอไปยังกระทรวงไอซีทีคือให้จัดเก็บข้อมูลเฉพาะที่จำเป็น และการแบ่งกลุ่มผู้ใช้บริการว่าแต่ละกลุ่มควรเก็บข้อมูลถึงระดับไหน เพราะหากให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์จัดเก็บข้อมูลบัตรประชาชน คงเป็นเรื่องกระทำได้ลำบากมาก “

ส่วนนายภาวุธ พงษ์วิทยภานุ กรรมการผู้จัดการ บริษัทตลาดดอตคอม จำกัด ผู้ให้บริการเว็บไซต์ซื้อขายสินค้า www.tarad.com และซื้อขายสินค้ามือสอง www.thaisecondhand.com

ในฐานะที่บริษัทเป็นผู้ให้บริการพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ หรืออี-คอมเมอร์ซ มองว่าการมีกฎหมายดังกล่าวจะช่วยให้สร้างความมั่นใจในการซื้อขายสินค้าผ่านอินเตอร์เน็ต หรืออย่างน้อยเมื่อเกิดปัญหาการซื้อขายเกิดขึ้นก็มีเจ้าหน้าที่ที่มีอำนาจและรู้เรื่องมาดำเนินการ ต่างจากในอดีตที่เกิดปัญหาขึ้นเจ้าหน้าที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย

ความเห็นส่วนหนึ่งจากหนังสือพิมพ์กรุงเทพธุรกิจ ฉบับวันเสาร์ที่ 14 ก.ค. 2550 – “พ.ร.บ.กระทำผิดคอมพ์ คนไอที-อินเทอร์เน็ตต้องระวัง” 

นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติ  พาร์ทเนอร์ บริษัทแมกนัส แอนด์ พาร์เนอร์ส จำกัด และอาจารย์พิเศษนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

“หลัง พ.ร.บ. ฉบับนี้มีผลแล้ว การส่งต่อหรือฟอร์เวิร์ดเมลภาพอนาจาร ภาพอนาจารดาราถูกตัดต่อหรือไม่ตัดต่อ จนถึงการส่งต่อลิงค์ยูอาร์แอลของเว็บโป๊อนาจาร ก็เข้าข่ายกระทำผิดต่อพ.ร.บ.นี้ รวมถึงการส่งทางมือถือด้วย เป็นที่น่าสังเกตว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมาปัญหาการข่มขืนมีมากขึ้นจากคลิปวิดิโอโป๊ที่เผยแพร่ทางเน็ต  หากกฎหมายดังกล่าวใช้น่าจะช่วยยกระดับจริยธรรมและการใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่เป็นประโยชน์มากขึ้น”

******************************************************

ข้างบนนั่นเป็นความคิดเห็นของผู้เกี่ยวข้องและเสียงดัง ไม่รู้ว่าผู้ให้และผู้ใช้บริการทั่วๆ ไปคิดอย่างไรบ้าง

คนเรามักจะกลัวสิ่งที่ไม่รู้จัก ไม่คุ้นเคย เพราะไม่เข้าใจ  แต่หากให้ความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้อง  ความกลัวก็จะหายไป    หากกลัวว่าเยาวชนหรือผู้ไม่บรรลุนิติภาวะ กลัวที่จะใช้อินเทอร์เน็ต และใช้อินเทอร์เน็ตในทางที่ผิด  พ่อแม่ผู้ปกครอง ครู อาจารย์ และหน่วยงานของรัฐ  ก็ควรเข้ามาดูแลอบรมให้ความรู้ 

แต่ว่า เด็กๆ สมัยนี้กลัวอินเทอร์เน็ตหรือ?  ประเด็นความกลัวหน้าจะเกี่ยวข้องกับการทำธุรกรรมต่างๆ ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมากกว่า

ผมไม่ทราบมาก่อนว่า เขาตั้งใจจะให้ผู้บริการจัดเก็บเนื้อหาของอีเมลไว้เป็นเวลา 90 วันด้วย  แหม แบบนี้ก็ควรจัดตั้ง National SMTP Server อย่างที่ผมเสนอไปก่อนหน้านี้จะดีที่สุดครับ  อีเมลที่เข้าออกในประเทศจะได้ถูกสำรองไว้ที่เซิร์ฟเวอร์ตัวนี้ทุกฉบับ  รัฐฯ ควรจะเป็นผู้ดำเนินการตรงนี้  ไม่ควรให้ผู้ประกอบการต้องรับภาระ   แต่อาจจะต้องใช้ storage ที่ใหญ่มหาศาลเพราะคงต้องเก็บสแปมเมลด้วย    นอกจากนี้รัฐก็จะสามารถทำการตรวจสอบอีเมลของคนในประเทศได้ด้วย  ใคร forward รูปโป๊  หรือส่ง link ของเว็บโป๊  ก็บุกจับได้ทันที  ว้าว!

กฏหมายนี้อาจช่วยให้เกิดการบังคับให้มีการยืนยันการมีตัวตน  โดยให้มีการแสดงหมายเลขบัตรประชาชนของผู้ซื้อและผู้ขาย  ทำให้การซื้อขายในโลกอินเทอร์เน็ตปลอดภัยขึ้น นั่นหมายความว่าวิธีการระบุและยืนยันตัวบุคคล จะต้องใช้งานได้ถูกต้องและเชื่อถือได้

ผมสงสัยว่ากฏหมายจะช่วยยกระดับจริยธรรมได้หรือ เลยลองค้นในเว็บก็พบบทความเรื่อง ความรู้เกี่ยวกับจริยธรรม ที่เรียบเรียงโดยคุณดวงเด่น นุเรนรัมย์  ความตอนหนึ่งว่า

อีกทั้งจริยธรรมมิใช่กฎหมาย ทั้งนี้เพราะกฎหมายเป็นสิ่งบังคับให้คนทำตาม และมีบทลงโทษสำหรับผู้ฝ่าฝืน ดังนั้น สาเหตุที่คนเคารพเชื่อฟังกฎหมายเพราะกลัวถูกลงโทษ ในขณะที่จริยธรรมไม่มีบทลงโทษ ดังนั้นคนจึงมีจริยธรรมเพราะมีแรงจูงใจ แต่อย่างไรก็ตาม กฎหมายก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับจริยธรรมในฐานะเป็นแรงหนุนจากภายนอกเพื่อให้คนมีจริยธรรม

(มีบทความเรื่อง จริยธรรมในวิชาชีพ ด้วยครับ)

ดูเหมือน  พรบ. นี้จะเป็นยาวิเศษจริงๆ เสียแล้วกระมัง

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *