ข้อมูลน่ารู้เกี่ยวกับนามสกุลพระราชทาน

“22 มีนาคม 2455 (ค.ศ.1912) แต่เดิมคนไทยนั้นไม่มีชื่อสกุล หรือนามสกุล มีแต่ชื่อตัวหรือนามบรรดาศักดิ์ จนกระทั่งในสมัยพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ ประกาศใช้พระราชบัญญัติขนานนามสกุลขึ้น แต่พระราชบัญญัตินี้ก็มีการเลื่อนใช้อยู่หลายครั้ง จนกระทั่งครั้งสุดท้ายที่นำมาใช้คือ วันที่ 1 เมษายน 2461 และตั้งแต่นั้นมา คนไทยก็มีนามสกุลพ่วงท้ายชื่อของทุกคนส่วนนามสกุลที่มี “ณ” นำหน้านั้น เป็นนามสกุลพระราชทานให้แก่ ราชนิกูล ข้าราชการ และให้แก่คหบดีที่อยู่อาศัยในสถานที่นั้นๆ มาช้านาน และมีผู้ยกย่องนับถือเช่น คำว่า ณ อยุธยา เป็นเครื่องหมายนามสกุลของเจ้านายในราชวงศ์จักรี ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน โดยครั้งแรกพระราชทานนามว่า “ณ กรุงเทพฯ” ต่อมาในวันที่ 24 มีนาคม 2468 จึงประกาศเปลี่ยนเป็น “ณ อยุธยา” ทั้งนี้เพราะคำว่า”กรุงเทพฯ” เป็นชื่อของมหานออครทั้งในอดีตและปัจจุบัน คือ “กรุงเทพมหานคร บวรทวารวดีศรีอยุธยา” ซึ่งในปัจจุบันเปลี่ยนเป็น “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์” ส่วนพระบรมราชวงศ์นี้ เดิมเป็นนามสกุลอยู่ในพระนครศรีอยุธยา จึงควรเปลี่ยนมาให้ตรงกับความเป็นมานอกจากนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ยังทรงออกประกาศอีกด้วยว่า ห้ามผู้หนึ่งผู้ใดใช้ ณ นำหน้าสกุลของตน ยกเว้นนามสกุลที่โปรดเกล้าโปรดกระหม่อมพระราชทาน ซึ่งพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม พระราชทานนามสกุลให้แก่ผู้ขอพระราชทานกว่า 5,600 นามสกุลทั่วประเทศในเวลานั้น”

ที่มา: http://www.wing21.rtaf.mi.th/board/question.asp?QID=1251

“3. การขอเปลี่ยนชื่อสกุลสามารถทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้

3.1 ต้องเป็นคำที่ไม่พ้องหรือมุ่งหมายให้คล้ายกับพระปรมาภิไธย หรือพระนามของพระราชินี
3.2 ต้องเป็นคำที่ไม่พ้องหรือให้คล้ายกับพระราชทินนาม เว้นแต่เป็นราชทินนามของตน ของบุพการี
หรือของผู้สืบสันดาน
3.3 ต้องเป็นคำที่ไม่ซ้ำกับชื่อสกุลพระราชทาน หรือชื่อสกุลที่ได้จดทะเบียนไว้แล้ว
3.4 ไม่มีคำหรือความหมายหยาบคาย
3.5 มีพยัญชนะไม่เกิน 10 พยัญชนะ เว้นแต่กรณีเป็นราชทินนาม
3.6 ผู้ที่ไม่ได้รับพระราชทานชื่อสกุล ห้ามใช้คำว่า “ณ” นำหน้าชื่อสกุล
3.7 ห้ามเอานามพระนครและศัพท์ที่ใช้เป็นพระบรมนามาภิไธยมาใช้เป็นชื่อสกุล”

ที่มา: กรมการปกครอง (http://www.dopa.go.th/dload/name1.htm)

“มีเกร็ดเล็กน้อยว่า เมื่อพระองค์จะพระราชทานนามสกุลแก่ผู้ใดพระองค์จะทรงศึกษาให้ทราบถึงความเกี่ยวดองซึ่งกันและกันของแต่ละสกุลโดยละเอียด หากทรงพบว่าบรรพบุรุษได้ทำคุณงามความดีมีวิทยฐานะและอาชีพอะไร ก็จะทรงแปลงคำมาจัดสรรให้ได้มงคลนามต่างๆ ขึ้นให้ไพเราะเหมาะสม พระองค์ทรงแยกพวกเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงไว้ฝ่ายหนึ่ง ส่วนขุนนางข้าราชบริพารก็ทรงจำแนกออกเป็นประเภทต่างๆ เช่น มีรกรากเหล่ากอปกครองบ้านเมืองมาแต่ก่อนเก่า ก็ทรงขนานนามสกุลให้เป็นผู้มาจากแหล่งต่างๆ เช่น ณ ระนอง, ณ ถลาง, ณ เชียงใหม่ ฯลฯ”

ที่มา: คอลัมน์รู้ไปโม้ด โดยน้าชาติ ประชาชื่น – “ที่มานามสกุลในประเทศไทย” (http://www.matichon.co.th/youth/youth.php?tagsub=031101&tag950=03you30300649&show=1)

Leave a Reply

Your email address will not be published. Required fields are marked *