ได้เงินคืนถ้าไม่ใช้วินโดวส์

โปรแกรมเมอร์อิสระ Dave Mitchell สั่งซื้อโน้ตบุ้คจาก บ.เดลล์ หลังจากได้รับโน้ตบุ้คแล้วเขาพบว่าโน้ตบุ้คเครื่องนั้นได้ติดตั้ง Windows XP Home แบบ pre-installed มาด้วย

Dave ไม่ต้องการใช้วินโดวส์ เพราะเขาตั้งใจจะใช้ระบบปฎิบัติการลินุกส์ในโน้ตบุ้คใหม่ของตัวเอง เมื่อเขาเปิดใช้งานโน้ตบุ้คครั้งแรก เขาก็เลือกตอบ “ปฎิเสธ” สำหรับข้อตกลงในการใช้งานของวินโดวส์ ซึ่งข้อความในข้อตกลงนั้นได้ระบุว่า ผู้ใช้สามารถขอเงินคืนได้สำหรับผลิตภัณฑ์ที่ไม่ได้ใช้งาน โดยเขาจะต้องติดต่อกับบริษัทผู้ผลิตโน้ตบุ้ค

Dave รู้อยู่แล้วว่า ผู้ใช้ระบบปฎิบัติการลินุกส์ได้มีความพยายามคล้ายคลึงกันที่จะขอเงินคืนในกรณีเดียวกันนี้ โดยแต่ละคนได้รับความสำเร็จที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้การรณรงค์ให้มีการคืนเงินแก่ผู้ใช้นี้เริ่มขึ้นในปี ค.ศ. 1999 เมื่อกลุ่มผู้ใช้ซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สในซานฟรานซิสโกเป็นผู้ริเริ่ม

เพื่อทำให้กรณีของเขามีน้ำหนักมากขึ้น Dave ได้ถ่ายรูปทุกขึ้นตอนตั้งแต่เริ่มต้นจนถึงขั้นตอนที่เขาปฏิเสธที่จะยอมรับข้อตกลงของไมโครซอฟต์ เพื่อใช้เป็นหลักฐานในชั้นศาล หลังจากนั้นเขาก็เขียนจดหมายถึงบริษัทเดลล์ ที่ Bracknell โดยสรุปความว่าเขาทำอะไรบ้าง

เขาคิดว่าในที่สุดแล้วคงจะต้องได้ขึ้นศาลเพื่อเรียกร้องสิทธิ์แน่นอน แต่ 2 วันหลังจากนั้น เขาก็ได้รับการติดต่อจากเดลล์ว่าให้รอการคืนเงินในบัตรเครติดของเขาในไม่ช้านี้

ในที่สุดเขาก็ได้เงินคืนเป็นจำนวน 55.23 ปอนด์ โดยในใบเสร็จรับเงินที่เขาได้รับทางไปรษณีย์ระบุการคืนเงินนี้ว่า “goodwill unspecified” นอกจากนี้เดลล์ก็ไม่ได้เรียกคืนแผ่นดิสก์ที่ใช้ในการติดตั้งโปรแกรมแต่อย่างใด

ที่มา: http://news.bbc.co.uk/1/hi/technology/6144782.stm

New ICT Minister and Open source software

dt-opinion.jpg

ข้างบนนั่นเป็นความคิดเห็นหนึ่งที่มีต่อกลุ่มผู้ลงนามในจดหมายเปิดผนึกถึง รมว. ICT ที่ร่างโดยคุณเทพพิทักษ์  หลังจากที่มีการแสดงความคิดเห็นต่อซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส  จากหนังสือพิมพ์บางกอกโพส ฉบับวันพุธที่ 15 พ.ย. 2549 (U-TURN AT ICT MINISTRY by DON SAMBANDARAKSA)

ส่วนที่รศ.ดร.สิทธิชัย โภไคยอุดม รัฐมนตรีว่าการกระทรวง ICT คนปัจจุบัน ได้กล่าวถึงซอฟต์แวร์โอเพนซอร์ส  มีในข่าวดังนี้

On the subject of open source software, he said the current government
plan was a case of the blind leading the blind, as neither the people who
are in charge nor the people in industry seem to know the dangers of
open source software.

“With open source, there is no intellectual property. Anyone can use it
and all your ideas become public domain. If nobody can make money
from it, there will be no development and open source software quickly
becomes outdated,” he said.

Apart from Linux, he claimed that most open source software is often
abandoned and not developed, and leads to a lot of low-quality
software with lots of bugs.

“As a programmer, if I can write good code, why should I give it away?
Thailand can do good source code without open source,” he said.

ข่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไปไกลถึง slashdot.org และ digg.com ซึ่งได้รับการแสดงความคิดเห็นอย่างมากมาย  แน่นอนว่ากลุ่มผู้ใช้งานซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สย่อมไม่เห็นด้วยกับความเห็นของ รมว. ICT โดยในขณะที่ผมเขียนบล็อกนี้อยู่นั้นก็มีผู้ลงชื่อที่ “บล็อกนั้น” ไปแล้วประมาณ 530 คนภายในเวลาประมาณ 27 ชั่วโมง

แน่นอนว่ากลุ่มคนที่มีความคิดเห็นในด้านตรงข้าม ก็ย่อมมีดังเช่นข้อความในกระทู้ข้างต้น หรืออีกข้อความหนึ่งในกระทู้เดียวกัน

opinion2.jpg

ความคิดเห็นที่แตกต่างเป็นเรื่องธรรมดา  แต่สิ่งที่น่าแปลกใจก็คือในหลายๆ ครั้ง  ไม่ได้มีแค่ความคิดเห็นที่แตกต่างแต่เพียงอย่างเดียว  กลับมีข้อความที่ไม่เหตุผล ใช้อารมณ์ และอยู่นอกเหนือจากเรื่องราวที่กำลังคุยกันปนแทรกมาด้วย ทำให้เรื่องราวที่เป็นเหตุเป็นผลกลายเป็นไร้เหตุผล และเต็มไปด้วยอารมณ์ ซึ่งสิ่งเหล่านี้อาจจะนับเป็นเรื่องธรรมดาที่เกิดขึ้นอยู่ในปัจจุบัน 

ล่าสุดใน”บล็อกนั้น”ได้มีข้อความโพสจากคุณธวัชชัย เอี่ยมไพโรจน์ (เลขานุการสมาคมสมาพันธ์โอเพนซอร์สฯ) ว่าได้ประสานงานเพื่อขอชี้แจงทำความเข้าใจในเรื่องโอเพนซอร์สต่อ รมว. ICT ในวันที่ 21 พ.ย. 2549 โดยดร.วิรัช (นายกสมาคมสมาพันธ์ฯ) และคุณธวัชชัยได้สนทนาทางโทรศัพท์กับ รมว. ICT ในเบื้องต้น  โดย รมว. ICT ได้แจ้งว่าท่านไม่เข้าใจในเรื่องนี้เพียงพอ และท่านยินดีที่จะแถลงแก้ข่าวให้ โดยขอให้ช่วยให้ข้อมูลต่อท่านด้วย และท่านขอยืนยันว่าไม่ได้ให้สัมภาษณ์เพื่อประโยชน์ต่อใครทั้งสิ้น

ท้ายที่สุดแล้ว เรื่องนี้น่าจะจบลงด้วยดีหากมีการพูดคุยและทำความเข้าใจกัน  ซึ่งก็คงต้องคอยดูกันต่อไป 🙂

เรื่องนี้ทำให้รู้ว่า มักจะมีคนที่ยังไม่รู้และเข้าใจว่าซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สเป็นอย่างไร แล้วมองไปในด้านลบ และมักจะโยงไปถึงเรื่องแต่เรื่องของเงินๆ ทองๆ เสมอ ทั้งที่จริงซอฟต์แวร์โอเพนซอร์สมีประโยชน์ในด้านอื่นๆ ด้วย