สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่องถวายการรักษาพระปิฐิกัณฐกัฐิของ ‘ในหลวง’

สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่อง การถวายการรักษาพระปิฐิกัณฐกัฐิ (กระดูกสันหลัง) ของ “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว” ที่เริ่มมีพระอาการทรงก้าวพระบาทขวาไม่ถนัดในปี 2538 และได้ถวายการรักษาเรื่อยมา จนวันที่ 3 พ.ค.คณะแพทย์ที่ถวายการรักษาได้ประชุมเห็นพ้องต้องกันว่า ควรถวายการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัดในวันพฤหัสบดีที่ 20 ก.ค.นี้ ที่โรงพยาบาลศิริราช

แถลงการณ์สำนักพระราชวัง เรื่อง การถวายการรักษาพระปิฐิกัณฐกัฐิ (กระดูกสันหลัง) ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ความว่า ใน พ.ศ.2538 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระอาการทรงก้าวพระบาทขวาไม่ถนัด ขณะทรงพระดำเนินเป็นครั้งคราว คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านประสาทวิทยาและศัลยกรรมออร์โธปิดิกส์ ได้ถวายการตรวจพระวรกาย และตรวจด้วยเอกซเรย์ พบว่า พระปิฐิกัณฐกัฐิ หรือกระดูกสันหลัง ระดับบั้นพระองค์ (Lumbar Spine) มีการเปลี่ยนแปลงตามพระชนมายุ การตรวจเส้นประสาทและกล้ามเนื้อด้วยกระแสไฟฟ้า พบว่า มีการกดทับเล็กน้อยของเส้นประสาทที่แยกออกจากไขสันหลังระดับบั้นพระองค์ ซึ่งเกิดขึ้นเป็นครั้งคราวในขณะที่ทรงพระดำเนิน คณะแพทย์ได้ถวายพระโอสถ พระอาการดีขึ้น

ต่อมา ใน พ.ศ.2546 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำเนินระยะทางยาวประมาณ 200 เมตร มีพระอาการก้าวพระบาทข้างขวาไม่ถนัด คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญได้ถวายตรวจพระวรกาย และถวายตรวจทางรังสีวิทยาคลื่นสนามแม่เหล็ก (Magnetic Resonance Imaging:MRI) และด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์ ใช้รังสีเอกซ์ (Computerize Tomography-CT) พบว่า ช่องทางเดินของเส้นประสาทไขสันหลังระหว่างปล้องของพระปิฐิกัณฐกัฐิ ตรงตำแหน่งดังกล่าวแคบลง (Lumbar spinal stenosis)

ใน พ.ศ.2548 คณะแพทย์ได้ปรึกษากันและได้ถวายการตรวจอีกครั้งหนึ่ง มีความเห็นว่าควรถวายการรักษาด้วยวิธีกายภาพบำบัดก่อน หากไม่ได้ผลควรต้องพิจารณาวิธีรักษาด้วยการผ่าตัดขยายช่องทางเดินประสาท

เมื่อวันที่ 3 พฤษภาคม พ.ศ.2549 คณะแพทย์ผู้เชี่ยวชาญของโรงพยาบาลศิริราช และจากสถาบันการแพทย์อื่นได้ร่วมประชุมปรึกษากันและเห็นพ้องต้องกันว่าควรถวายการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด ในการนี้ต้องถวายพระโอสถก่อนการผ่าตัดสักระยะเวลาหนึ่ง และหลังจากการผ่าตัดจำเป็นต้องใช้เวลานานเพื่อการบริหารพระกล้ามเนื้อเพื่อเสริมสมรรถภาพ จึงเห็นสมควรถวายการผ่าตัด หลังจากงานพระราชพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปี คณะแพทย์จึงได้กราบบังคมทูลขอพระราชทานพระบรมราชานุญาต ถวายการผ่าตัดขยายช่องทางเดินประสาทของพระปิฐิกัณฐกัฐิ (Lumbar Spine) ระดับบั้นพระองค์ โดยใช้กล้องจุลทรรศน์ (Microsurgical decompression) ณ โรงพยาบาลศิริราช ในวันพฤหัสบดีที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ.2549 จึงประกาศมาให้ทราบโดยทั่วกัน สำนักพระราชวัง วันที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2549

สำนักพระราชวังออกแถลงการณ์เรื่องพระอาการประชวรของในหลวง

แถลงการณ์สำนักพระราชวัง

เรื่อง พระอาการประชวรของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

เมื่อวันเสาร์ที่ 24 มิถุนายน 2549 เวลา18.19 น. ขณะที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระดำเนินออกกำลัง พระวรกาย ณ บริเวณถนนด้านหน้า ของพระตำหนักจิตรดารโหฐาน พระราชวังดุสิต ทรงสะดุด และล้มลง ทรงยืนขึ้นด้วยพระองค์เอง จากนั้นก็ทรงพระดำเนินกลับขึ้นพระตำหนักจิตรลดารโหฐาน ทรงมีรอยถลอกที่พระฉวี (ผิวหนัง) 3 แห่ง ทรงมีรอยช้ำที่พระปฤษฎางค์ (หลัง) ด้านขวา พระอังสา(ไหล่) มีพระอาการเจ็บปวดพระวรกายขณะทรงเปลี่ยนพระอิริยาบถ และขณะทรงพระดำเนิน คณะแพทย์ได้ถวายเอกซเรย์พบรอยร้าวเล็กน้อยที่พระผาสุกัฐิ (กระดูกซี่โครง) ซี่ที่ 4 ด้านขวา คณะแพทย์ได้ถวายพระโอสถ พระอาการดีขึ้นเป็นลำดับ จึงถวายคำแนะนำให้ทรงพักผ่อนพระวรกายและให้ทรงงดพระราชกิจสักระยะหนึ่ง
จึงแถลงมาเพื่อทราบโดยทั่วกัน


สำนักพระราชวัง
8 กรกฎาคม พุทธศักราช 2549

ขอให้พระองค์ทรงหายจากประชวรในเร็ววันด้วยครับ

ทรงมองเห็นอนาคต

“ในโลกนี้อาจมีคนที่มองเห็นอนาคตมากมาย
แต่โลกนี้ มีพระราชาเพียงพระองค์เดียว ที่ทรงมองเห็นอนาคต
ทรงค้นคว้าเรื่องพลังงานทดแทน ในขณะที่น้ำมันยังมีราคาเพียงลิตรละไม่กี่บาท
วันนี้ พลังงานทดแทนที่ทรงริเริ่มไว้ ทำให้ประเทศไทยลดการนำเข้าน้ำมัน ได้ปีละนับพันล้านบาท
เป็นโชคดีของคนไทย เราไม่เพียงแต่มีพระราชาที่ยิ่งใหญ่ เรายังมีพระราชาที่ทรงมีความคิดที่ยิ่งใหญ่อีกด้วย
แนวพระราชดำริของพระองค์ จะเป็นแรงบันดาลใจให้เราคิดไกล และมุ่งมั่นพัฒนาพลังงาน เพื่ออนาคตที่มันคงของไทย
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อมขอเดชะ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)”

ppt-kingad.jpg

http://www.adintrend.com/show_ad.php?id=839

พระบรมราโชบายขนานนามสกุล

พระบรมราโชบายขนานนามสกุล

โดย จุลลดา ภักดีภูมินทร์
ฉบับที่ 2591 ปีที่ 50 ประจำวัน อังคาร ที่ 15 มิถุนายน 2547

-ผมเกิดจังหวัดเพชรบูรณ์ จะขอเปลี่ยนนามสกุลเดิมของบิดา เป็น ‘ณ เพชรบูรณ์’ได้หรือไม่ เพราะยังไม่เห็นมีนามสกุลนี้เลย-

เมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัตินามสกุล พ.ศ.๒๔๕๖

พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯให้ตราพระราชบัญญัตินามสกุล พ.ศ.๒๔๕๖
ในภาพ ทรงฉายพระบรมฉายาลักษณ์ด้วย พระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี เมื่อโปรดเกล้าฯทรงประกอบพิธีอภิเษกสมรสด้วยพระนางเจ้าฯ แต่ยังทรงเป็นเจ้าจอมสุวัทนา

มีพระบรมราโชบายในการขนานนามสกุลหลายข้อ ข้อที่เกี่ยวกับเกณฑ์ภูมิลำเนานั้น มีว่า

“๔. (ก.) เกณฑ์ภูมิลำเนา คือ (ตั้ง) ตามนามตำบลที่อยู่ เช่น ‘สามเสน’ ‘บางขุนพรหม’ ‘บางกระบือ’ แต่ห้ามมิให้มี ‘ณ” อยู่ข้างหน้านามตำบล เพราะ ณ จะมีได้แต่ที่พระราชทานเท่านั้น”

แต่เมื่อเป็นเพียงประกาศพระบรมราโชบาย มิใช่พระบรมราชโองการ และมิได้ตราเป็นพระราชบัญญัติจึงปรากฎว่า ยังมีผู้ใช้ ‘ณ’ นำนามสกุลอยู่

ใน พ.ศ.๒๔๕๘ จึงโปรดเกล้าฯให้ประกาศพระบรมราชโองการว่า

“ได้มีประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อม ลงวันที่ ๑๕ ธันวาคม พ.ศ.๒๔๕๘ สั่งว่า ห้ามมิให้ใช้ ‘ณ’ นำหน้านามสกุล ผู้ใดใช้ไปก่อนประกาศนี้ให้ถอน ‘ณ’ ออกเสีย ถ้าผู้ใดมีความประสงค์จะใช้ให้นำเรื่องราวขอพระบรมราชานุญาตเสียก่อน”

ทั้งนี้เพราะคำว่า ‘ณ’ สำหรับโปรดเกล้าฯ พระราชทาน เฉพาะสกุลที่สืบเชื้อสายลงมาจาก เจ้าผู้ครองนคร หรือผู้ว่าราชการเมือง (ก่อนเรียกกันว่าจังหวัด) เท่านั้น

แม้ในปัจจุบันจะใช้พระราชบัญญัตินามสกุล พ.ศ.๒๕๐๕ ซึ่งตราขึ้นในสมัย จอมพล สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ยกเลิก พระราชบัญญัตินามสกุล พ.ศ.๒๔๕๖ ทว่าพระบรมราชโองการประกาศ เกี่ยวกับคำว่า ‘ณ’ คงจะยังถือปฏิบัติกันอยู่ จึงมิได้มีผู้ใดขอตั้งนามสกุลอันขึ้นต้นด้วยคำ ‘ณ’

ไหนๆก็ถามมาแล้ว จึงได้คุ้นนามสกุลพระราชทานที่ขึ้นต้นว่า ‘ณ’ ทั้งเหตุผลที่โปรดฯ พระราชทานแก่ผู้ขอด้วย

นามสกุลพระราชทานในรัชกาลที่ ๖ ขึ้นต้นว่า ‘ณ’ หน้าชื่อเมืองมี ๒๑ นามสกุล

๑. ณ กาฬสินธุ์ พระราชทาน พระยาไชยสุนทร (เก) ทวดและปู่เป็นเจ้าเมืองกาฬสินธุ์ เชื้อสายเจ้าเมืองกาฬสินธุ์มาแต่ก่อน

๒. ณ จัมปาศักดิ์ พระราชทานเจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เจ้าเบงคำ) เจ้าศักดิ์ประเสริฐ์ (เจ้าอุย) บุตรชายเจ้านครจัมปาศักดิ์ ซึ่งเข้ามารับราชการในเมืองไทย ไม่ยอมอยู่ในบังคับฝรั่งเศส

๓. ณ เชียงใหม่ พระราชทานเจ้าแก้วนวรัฐ เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่

๔. ณ ตะกั่วทุ่ง พระราชทาน พระราชภักดี (หร่าย) ยกระบัตรมณฑลปัตตานี ทวดและปู่เป็นผู้ว่าราชการเมืองตะกั่วทุ่ง

๕. ณ ถลาง พระราชทานพระยา ๓ ท่าน ซึ่งร่วมทวดเดียวกัน ทวดเป็นพระยาถลาง

๖. ณ นคร พระราชทาน เชื้อสาย เจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) ที่ว่าเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช

๗. ณ น่าน พระราชทาน ผู้สืบสกุลจากพระเจ้าสุริยพงษผริตเดช พระเจ้าน่าน

๘. ณ บางช้าง พระราชทานสำหรับพระญาติวงศ์ของสมเด็จพระอมรินทราบรมราชินี ในรัชกาลที่ ๑ ซึ่งเป็นราชินิกุลในรัชกาลที่ ๒

๙. ณ ป้อมเพ็ชร์ สกุลนี้เดิมตั้งบ้านเรือนอยู่ ณ ป้อมเพชรกรุงเก่า มีชื่อเสียงอยู่ในกรุงเก่า

๑๐. ณ พัทลุง พระราชทานผู้สืบสายจากเจ้าเมืองพัทลุง สายสุลต่านสุลัยมาน ผู้เป็นเจ้าเมืองพัทลุงมาหลายชั้น ตั้งแต่กรุงศรีอยุธยา

๑๑. ณ พิศณุโลก พระราชทานหม่อมคัทริน ใน สมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าฯกรมหลวงพิษณุโลกประชานาถ ก่อนพระราชทานนามสกุล ‘จักรพงศ์’ในรัชกาลที่ ๗

มีผู้ใช้นามสกุลนี้เพียงท่านเดียว คือ หม่อมคัทริน

๑๒. ณ มโนรม ทวดและปู่ของผู้ขอพระราชทาน เป็นผู้ว่าราชการเมืองมโนรม

๑๓. ณ มหาไชย พระราชทานพระยาเทพทวาราวดี (สาย) อธิบดีกรมมหาดเล็ก ข้าหลวงเดิม และเคยเป็นเจ้ากรมเมื่อพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าฯ ทรงพระอิสริยยศ เป็นกรมขุนเทพทวาราวดี พระยาเทพฯ มีภูมิลำเนาอยู่ตำบลมหาไชย

๑๔. ณ ระนอง พระราชทานแก่ผู้สืบเชื้อสายพระยาระนองคนแรก คือพระยาดำรงมหิศร์ภักดี (คอซู้เจียง)

๑๕. ณ ร้อยเอ็จ พระราชทานแก่พระยาขัติยะวงศา (หลา) ผู้ว่าราชการเมืองเมืองร้อยเอ็จ ซึ่งเป็นเชื้อสายเจ้าเมืองร้อยเอ็จมาแต่ครั้งทวด ปู่ และบิดา

๑๖. ณ ลำปาง พระราชทานผู้สืบเชื้อสายเจ้านครลำปาง (เจ้าเจ็ดตน)

๑๗. ณ ลำพูน พระราชทานผู้สืบเชื้อสายเจ้านครลำพูน (เจ้าเจ็ดตน)

๑๘. ณ วิเชียร ปู่และบิดาเคยเป็นผู้ว่าราชการเมืองวิเชียรบุรีในจังหวัดเพชรบูรณ์

๑๙. ณ สงขลา พระราชทานผู้สืบสกุล เจ้าพระยาสงขลา

๒๐. ณ หนองคาย พระราชทานผู้สืบสายเจ้าเมืองนครหนองคายมาแต่ปู่และบิดา

๒๑. ณ อุบล พระราชทานพระอุบลประชารักษ์ (เสือ) ทวดเป็นพระประทุมวงศา (คำผา) เจ้าเมืองอุบลคนแรก

นอกจากนามสกุล ‘ณ’ โดยตรงแล้ว ยังมีอีก ๗ สกุล ที่โปรดฯให้ใช้ ‘ณ’ ต่อท้ายนามสกุลที่แยกออกจาก ‘ณ’ เดิม คือ

๑. โกมารกุล ณ นคร

๒. ประทีป ณ ถลาง

๓. สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง

และอีก ๕ นามสกุลที่โปรดฯให้ใช้ ‘ณ’ ตามหลังนามสกุล คือ

๑. พรหมสาขา ณ กลนคร พระราชทานให้พระยาประจันตประเทศธานี (โง่นคำ) เชื้อสายเจ้านครสกลนครมาแต่ครั้งทวด (พระบรมราชา)

๒. ภวภูตานนท์ ณ มหาสารคาม เชื้อสายเจ้าเมืองมหาสารคามมาแต่ทวด เจ้าราชวงศ์ (หล้า)

๓. รัตนดิลก ณ ภูเก็ต เชื้อสายพระภูเก็ตโลหเกษตรรักษ์

๔. สุคนธาภิรมย์ ณ พัทลุง แยกจาก ณ พัทลุง โปรดเกล้าฯ พระราชทานว่า สุคนธาภิรมย์ เพราะผู้ขอพระราชทานมีปู่ชื่อกลิ่น บิดาชื่อชม

๕. สุนทรกุล ณ ชลบุรี นามสกุลนี้พิเศษกว่า ‘ณ’ อื่นๆ ด้วยเป็นนามสกุลสืบทอดมาจาก ‘เจ้า’ ผู้ได้รับพระมหากรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นจากสามัญชน ที่มิได้มีเชื่อสายเกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวดองกับพระบรมราชจักรีวงศ์ เจ้านามพระองค์นี้ คือ กรมขุนสุนทรภูเบศร์ พระนามเดิมว่า ‘เรือง’ หรือ ‘จีนเรือง’ เป็นชาวเมืองชลบุรี เป็นผู้มีอุปการคุณแก่สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช เมื่อเสด็จยกทัพไปตีจันทบุรี จีนเรืองรักใคร่ชอบพอกับสมเด็จพระบวรราชเจ้ามหาสุรสิงหนาทมาก ถึงแก่ได้ร่วมสาบานเป็นพี่น้องกัน เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าฯ เสด็จปราบดาภิเษก จึงทรงสถาปนาขึ้นเป็น เจ้า ตามพระราชประสงค์ของสมเด็จพระอนุชาธิราช พระราชทานให้สร้างวังอยู่ปากคลองวัดชนะสงคราม (หรือปากคลองโรงไหม) ตรงข้ามวังหน้า ถึงรัชกาลที่ ๓ พระราชทานให้เป็นวังเจ้าฟ้าอิศราพงศ์

กรมขุนสุนทรภูเบศร์ นี้ได้เป็นเจ้าแต่เฉพาะองค์เดียว ลูกมิได้เป็นเจ้าด้วย ทว่าผู้ขอพระราชทานนามสกุล จดไว้ว่า ‘หม่อมหลวงจาบ’ เห็นทีพวกลูกหลานคงเรียกกันว่า ‘หม่อม’ ตามที่เรียกยกย่องพวกผู้ดีมีสกุลมาแต่ครั้งอยุธยา เมื่อถึงรัชกาลที่ ๔-๕ จึงโปรดฯให้เป็นหม่อมราชวงศ์ หม่อมหลวง ด้วยถือว่าเป็นแต่ราชนิกุล ไม่ใช่เจ้า

ยังมี นามสกุล ‘ณ’ อีกสกุลหนึ่ง คือ ‘ณ ราชสีมา’ และ ‘อินทรกำแหง ณ ราชสีมา’ ซึ่งสืบเชื้อสายมาจาก เจ้าพระยากำแหงสงคราม (ทองอิน) ผู้ว่าราชการเมืองนครราชสีมา ท่านผู้นี้มีประวัติแบบเดียวกันกับเจ้าพระยานครศรีธรรมราช (น้อย) คือว่ากันว่าเป็นพระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โดยโปรดพระราชทานเจ้าจอมยวน ซึ่งกำลังตั้งครรภ์อยู่ในแก่เจ้าพระยานครราชสีมา (ปิ่น)

นามสกุล ‘ณ ราชสีมา’ และ ‘อินทรกำแหง ณ ราชสีมา’ ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระองค์ปัจจุบัน เมื่อ พ.ศ.๒๔๙๔ นี้

ที่มา: http://www.sakulthai.com/DSakulcolumndetailsql.asp?stcolumnid=3004&stissueid=2591&stcolcatid=2&stauthorid=13

แหล่งข้อมูลอื่น:

พระราชดำรัสของในหลวง

“…….ตลอดระยะเวลา 60 ปี ข้าพเจ้าใครจะกล่าวแก่ทุกท่านว่า การทำนุบำรุงประเทศชาตินั้น มิใช่เป็นหน้าที่ของผู้หนึ่งผู้ใดโดยเฉพาะ หากเป็นภาระความรับผิดชอบของคนไทยทุกคน ที่จะต้องขวนขวายกระทำหน้าที่ของตนให้ดีที่สุด เพื่อธำรงรักษาและพัฒนาชาติบ้านเมืองให้เจริญและผาสุกร่มเย็น ข้าพเจ้าในฐานะที่เป็นคนไทยคนหนึ่งจึงมีภาระหน้าที่เช่นเดียวกันกับคนไทยทั้งมวล…..”

พระราชดำรัสที่ทรงมีต่อบุคคลสำคัญของประเทศไทย และพระราชอาคันตุกะที่เข้าเฝ้าฯ ณ พระที่นั่งอนันตสมาคม (12 มิ.ย.)

อ่านข่าวและดูรูปได้ที่ http://www.thaimonarchy.com/special.php?page_show=bestwish

ROYAL JUBILEE

Royal Jubilee
      

Annan honours His Majesty’s life work      

UN chief, Prem pay tribute to commitment to betterment of the people’s lot

The United Nations yesterday commenced the grand Diamond Jubilee celebration of His Majesty the King by bestowing on him the inaugural Human Develop-ment Lifetime Achievement Award for his dedication to human development.

“As the world’s ‘Develop-ment King’, Your Majesty has reached out to the poorest and the most vulnerable people of Thailand regardless of their status, ethnicity or religion, listened to their problems, and empowered them to take their lives in their own hands,” UN chief Kofi Annan said during the presentation.

Annan, as well as his wife, were granted a royal audience at Klaikangwon Palace in Hua Hin in the afternoon, where he personally conferred the award from the UN Develop-ment Programme, created to mark the occasion for the world’s longest-reigning monarch.

“With this award, we hope to further promote the invaluable experiences and lessons learnt from Your Majesty’s development endeavours and help draw attention to Your Majesty’s visionary thinking beyond the borders of the Kingdom of Thailand,” Annan said.

The King’s countless rural development projects have been at the forefront of innovation and benefited millions of people across Thailand, he said. The royal projects have promoted small-scale agriculture, appropriate farming technologies, sustainable use of water resources, conservation, and flood and drought mitigation, he added.

As a visionary thinker, His Majesty has played an invaluable role in shaping the global development dialogue, he said.

 

“Your Majesty’s ‘sufficiency economy’ philosophy, emphasising moderation, responsible consumption, and resilience to external shocks, is of great relevance worldwide during these times of rapid globalisation. It reinforces the United Nation’s efforts to promote a people-centred and sustainable path of development,” he said.

Before heading to the summer palace, Annan delivered the keynote speech at a high-level panel discussing “His Majesty the King and Human Development” at the Foreign Affairs Ministry.

Privy Council President Prem Tinsulanonda, in his opening address to the seminar, noted the King’s lifelong dedication to bettering the welfare and livelihood of his subjects.

“Sixty years ago, at His Majesty’s coronation in 1946, His Majesty articulated his overriding goal: ‘We shall reign in righteousness for the benefit and happiness of the Siamese people’.

“Those words encapsulate the commitment of His Majesty to placing the people of Thailand at the very heart of his reign and at the centre of his initiatives,” Prem said.

While the list of royal initiatives is endless, Prem reflected on His Majesty’s four guiding principles imparted to the people for use in pursuing their lives and development: moderation in conducting one’s affairs, perseverance in the face of hardship and suffering, individuality in identifying problems and selecting solutions, and cherishing the sense of being Thai.

Annan arrived in Bangkok on Thursday evening from Vietnam and leaves this morning for Hong Kong. Yesterday he met and lunched with caretaker Prime Minister Thaksin Shinawatra at Government House.

Sopaporn Kurz
The Nation

Sopaporn KurzThe Nation

Sopaporn KurzThe Nation

พระบรมราโชวาทและพระราชดำรัส

ผมได้ลองค้นหาพระบรมราโชวาทและพระราชดำรัสของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พบเว็บไซต์ที่รวบรวมพระบรมราชโชวาทไว้ดังนี้ครับ

พระบรมราโชวาทในพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ณ ค่ายลูกเสือวชิราวุธ อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี วันที่ ๑๑ ธันวาคม ๒๕๑๒
ข้าพเจ้าและพระราชีนี มีความยินดี ที่ได้มาร่วมพิธีเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ในโอกาสนี้ และพอใจที่ได้ทราบตามรายงานของผู้บังคับการค่ายชุมนุมว่า งานชุมนุมลูกสือนี้ จะให้ประโยชน์แก่ลูกเสือทั้งโดยทางตรง และโดยทางอ้อม เป็นอย่างมาก
ข้าพเจ้าได้เคยกล่าวแก่คณะลูกเสือในโอกาสอื่นมาแล้าว่า การลูกเสือนั้นเป็นกิจการที่ผู้ใหญ่จัดขึ้นสำหรับเด็ก เพื่อซักจูงและฝึกฝนให้เติบโตเป็นคนดีมีความซื่อสัตย์ และเป็นผู้สามารถเหมาะสมที่จะอยู่ในสังคม ดังนั้นจึงเป็นที่เข้าใจและเป็นที่หวังว่า ต่อไปข้างหน้าลูกเสือจะเป็นคนสำคัญของชาติ คือจะเป็นผู้บริหารปกครองบ้านเมืองได้ ขอให้ลูกเสือทราบถึงสิ่งสำคัญในการปกครองไว้ว่า ในบ้านเมืองนั้น มีทั้งคนดีและคนไม่ดี ไม่มีใครจะทำให้คนทุกคนเป็นคนดีได้ทั้งหมด การทำให้บ้านเมืองมีความปรกติสุขเรียบร้อย จึงมิใช่การทำให้ทุกคนเป็นคนดี หากแต่อยู่ที่การส่งเสริมคนดี ให้คนดีได้ปกครองบ้านเมือง และควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ ไม่ให้ก่อความเดือดร้อนวุ่นวายได้ ลูกเสือทุกคนจงหมั่นฝึกฝนตนเองให้มาก เพื่อให้พร้อมและให้เหมาะแก่การภาระหน้าที่อันจะมีมาข้างหน้านั้น
ในการชุมนุมลูกเสือแห่งชาติครั้งนี้ ลูกเสือทั่วราชอาณาจักรได้มาอยู่ด้วยกัน นอกจากนั้นยังมีแขกจากต่างประเทศมาอยู่ร่วมกับเราด้วย เป็นโอกาสอันประเสริฐที่จะผูกไมตรีระหว่างกันและกัน ขอให้แต่ละคนทำความรู้จักคุ้นเคย แลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดกัน ผูกพันกันไว้ด้วยน้ำใจ ลูกเสือจะรู้สึกว่า การที่ได้มาอยู่ร่วมกันเพียงชั่วเวลาเล็กน้อยนี้ อาจก่อให้เกิดประโยชน์แก่ชีวิตอนาคตได้มากมาย
ได้เวลาอันเป็นมงคลแล้ว ข้าพเจ้าขอเปิดงานชุมนุมลูกเสือแห่งชาติ ครั้งที่ ๖ ณ บัดนี้ ขออวยพรให้งานดำเนินลุล่วงไปด้วยดี สำเร็จประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ทุกประการ และขอให้ผู้บังคับบัญชาลูกเสือ ลูกเสือทุกคน พร้อมทั้งผู้มีส่วนร่วมในงาน มีความสุขความสวัสดีโดยทั่วกัน