Domain name and Web hosting

อ่านบล็อกของคุณ Rachanont เรื่อง “How to have yourname.com blog”  แล้วก็ทำให้นึกถึงการทำเว็บว่าจริงๆ แล้วมีองค์ประกอบอะไรบ้าง  จากมุมมองของผมนั้น คิดว่าน่าแยกออกเป็น 3 ส่วนใหญ่ๆ

  1. ชื่อโดเมน (Domain name)
  2. พื้นที่เก็บข้อมูลของเว็บ (Web hosting)
  3. ข้อมูลของเว็บ (Web content)

ในแต่ละส่วนก็มีความสำคัญในตัวเอง  เช่นหากพูดถึงชื่อโดเมนแล้วก็จะพบว่ามีบทความมากมายที่เขียนแนะนำว่าลักษณะของชื่อโดเมนที่ดีควรเป็นอย่างไร เช่น ไม่ควรจะยาวเกินไป ไม่ทำให้สับสน จำง่าย เป็นต้น  ชื่อโดเมนที่สื่อถึงเนื้อหาของเว็บเองก็จะมีข้อได้เปรียบมากมาย  ไม่เช่นนั้นคงไม่มีการประมูลขายชื่อโดเมนราคาเป็นล้านๆ   แม้กระทั่งข้อพิพาทการแย่งชิงสิทธิ์ในการครอบครอง หรือการขู่กรรโชคทรัพย์โดยใช้ชื่อโดเมนก็มีเกิดขึ้นมาแล้ว ไม่เว้นแม้แต่ในประเทศไทย

พื้นที่เก็บข้อมูลของเว็บนั้นก็คือ พื้นที่ในฮาร์ดดิสก์ของเซิร์ฟเวอร์ (มักจะเรียกเซิร์ฟเวอร์ที่ให้บริการชนิดนี้ว่า เว็บเซิร์ฟเวอร์) หรือเครื่องคอมพิวเตอร์บนเครือข่าย ซึ่งเราจะนำเอาข้อมูลของเว็บเราเข้าไปเก็บไว้  เพื่อให้ใครต่อใครมาเปิดอ่านนั่นเอง

domain_webhosting1.gifดังนั้นขนาดของพื้นที่และข้อมูลของเว็บก็จะต้องสัมพันธ์กัน  ผู้ทำเว็บก็จะต้องรู้ว่าปริมาณข้อมูลเว็บของตัวเองมีขนาดเท่าใด  แล้วก็จึงพิจารณาเลือกขนาดของพื้นที่ที่เหมาะสม โดยอาจจะต้องประมาณพื้นที่เผื่อไว้ในอนาคตด้วย  ทั้งนี้จะต้องทำการประมาณให้พอเหมาะพอดี  เพราะการเลือกขนาดของพื้นที่ที่มากเกินไปก็จะทำให้สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการเช่าพื้นที่นั่นเอง

ผู้ให้บริการเช่าพื้นที่เว็บนั้นมีมากมายจนเลือกไม่ถูกทั้งที่อยู่ในและนอกประเทศ  ข้อดีที่สุดของผู้ให้บริการที่อยู่ประเทศก็คือ ความเร็วของการเรียกดูเว็บจากคนที่อยู่ภายในประเทศจะเร็วมาก  เหมาะสำหรับเว็บไซต์ที่มีกลุ่มลูกค้าอยู่ในประเทศเป็นหลัก

แต่ขอร้องว่า กรุณาอย่าเข้าใจว่าเลือกใช้บริการในประเทศกับผู้ให้บริการที่เป็นคนไทย  พูดภาษาไทยด้วยกันแล้ว ทำอะไรมันจะง่ายเหมือนปลอกกล้วยเข้าปาก   เพราะอาจจะไปเจอผู้ให้บริการที่ไม่รู้เรื่องอะไรเลย บริการดีก็เฉพาะก่อนจ่ายตังค์  พอจ่ายตังค์ไปแล้วก็เป็นอีกอย่าง  เรื่องแบบนี้อาจจะต้องมีการสืบเสาะหาข้อมูลก่อน   ซึ่งบางทีแล้วแต่ดวงด้วยเหมือนกัน

แม้แต่บริษัทใหญ่ที่ดูน่าเชื่อถือมาก ทำธุรกิจครบวงจร ตั้งแต่รับฝากเว็บไซต์ ออกแบบและจัดทำเว็บไซต์  มีทีมงานพัฒนาเว็บไซต์ แต่ก็มีลูกเล่นแพรวพราว  ที่เจอมากับตัวเองก็คือ ตอนที่นำเสนอโครงการนั้นบอกว่าจะทำการพัฒนาโปรแกรมขึ้นมาเองทั้งหมด อธิบายส่วนต่างๆ ได้เป็นฉากๆ  แต่เมื่อส่งมอบงานกลับนำโปรแกรมโอเพ่นซอร์สมาดัดแปลง แล้วนำมาส่งมอบหน้าตาเฉย   🙁

สำหรับผู้ให้บริการพื้นที่เว็บของต่างประเทศนั้นก็มีมาก  ซึ่งการค้นหาข้อมูลว่าผู้ให้บริการรายใดมีคุณภาพดีและน่าเชื่อถือนั้นหาได้ง่ายกว่ามาก  เพียงแต่คุณต้องขยันอ่านรีวิวของผู้ใช้ตามเว็บบอร์ดต่างๆ  ผมเคยใช้บริการมาแล้วหลายแห่ง  แต่ละแห่งที่เลือกนั้นมีระดับคุณภาพการให้บริการดีเยี่ยมในระดับมืออาชีพ

มาถึงตอนนี้ สมมติว่าเราได้เลือกขนาดพื้นที่ที่ต้องการไว้แล้ว และขณะเดียวกันเราก็ชื่อได้ชื่อโดเมนที่ต้องการแล้วด้วยเช่นกัน   ปัจจุบันผู้ให้บริการเช่าพื้นที่เว็บทุกรายจะมีบริการจดชื่อโดเมนด้วย  บางรายก็ถือเป็นแพ็คเกจเช่าพื้นที่และแถมชื่อโดเมนไปพร้อมกัน  ซึ่งที่จริงแล้วนั้นเราสามารถที่จะแยกทำการจดชื่อโดเมนด้วยตัวเองต่างหากได้  แล้วจึงนำชื่อโดเมนของเราไปใช้ร่วมกับผู้ให้บริการพื้นที่เว็บที่เราเลือกไว้แล้ว

การใช้บริการจดชื่อโดเมนของผู้ให้บริการเช่าพื้นที่เว็บนั้น ก็อาจสะดวกรวดเร็วในการดำเนินการ แต่อาจมีปัญหาเกิดขึ้นเมื่อคุณเกิดเปลี่ยนใจไม่อยากที่จะใช้บริการเช่าพื้นที่ของเขาต่อ   เพราะหากไม่เคยทำมาก่อนแล้วการย้ายโดเมนหรือแก้ไขข้อมูลของโดเมนนั้นอาจไม่ง่ายนัก  

ยิ่งหากคุณไปเจอผู้ให้บริการที่บริการห่วยๆ  โดยไม่ยอมให้สิทธิ์คุณเข้าไปปรับแก้ข้อมูลของโดเมนของตัวเองเลยนั้น  ก็ถือเป็นโชคร้าย  ทั้งๆ ที่ขั้นตอนต่างๆ ไม่ได้ยุ่งยาก  แต่ปัญหาอยู่ที่ผู้ให้บริการที่ไม่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้บริการเท่านั้นเอง

เมื่อจดชื่อโดเมนแล้ว  คุณควรจะทำการขอรหัสผ่าน สำหรับเข้าไปแก้ไขข้อมูลของโดเมนด้วย  ก็ในเมื่อชื่อโดเมนเป็นของคุณ ทำไมคุณจะมีรหัสผ่านของโดเมนนั้นไม่ได้ และควรจะรู้ไว้ว่าผู้ให้บริการเหล่านี้ส่วนใหญ่เป็นนายหน้า ซึ่งเป็นตัวแทนของบริษัทรับจดโดเมนที่เป็นนายทะเบียนในต่างประเทศอีกที 

คุณสามารถตรวสอบรายชื่อของนายทะเบียน (registrar) ได้ที่นี่ http://www.icann.org/registrars/accredited-list.html  (ลองมองหาชื่อประเทศไทยสิ มีไหม?)

กรณีที่คุณจดชื่อโดเมนเองผ่านทางบัตรเครดิต ซึ่งสามารถดำเนินการได้ภายใน 5-10 นาที  โดยเมื่อคุณได้ชื่อโดเมนและมีชื่อเว็บไซต์ที่ต้องการแล้ว เช่น www.abc123.com  คุณจะนำเอามันไปโยงเข้ากับพื้นที่เว็บที่ผู้ให้บริการพื้นที่จัดไว้ให้ได้อย่างไร?  คำตอบก็คือคุณจะต้องแก้ไขข้อมูลของ name server ของโดเมนให้เป็นไปตามค่าที่ผู้ให้บริการเช่าพื้นที่แจ้งให้คุณทราบ

domain_webhosting2.gif

name server จะทำหน้าที่ในการแปลงชื่อของเว็บไซต์ ให้เป็นหมายเลข IP Address ของเว็บเซิร์ฟเวอร์ที่คุณนำข้อมูลของเว็บไซต์ไปฝากไว้   เมื่อได้หมายเลข IP Address แล้ว การติดต่อกันระหว่างบราวเซอร์และเซิร์ฟเวอร์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตก็จะสามารถเกิดขึ้นได้

ดังนั้น แต่ละชื่อโดเมนก็จะต้องมี name server ประจำตัวของมัน  ไม่เช่นนั้นชื่อโดเมนของคุณก็จะไม่สามารถใช้งานได้   ซึ่งที่จริงแล้วคุณอาจไปใช้บริการ name server ที่บริษัทรับจดชื่อโดเมนได้จัดบริการส่วนนี้ไว้ให้อยู่แล้วก็ได้  เช่น www.enom.com และ www.onlinenic.com  

นอกจากนี้คุณจะอาจจะหันไปใช้บริการ name server ของผู้ให้บริการค่ายอิสระที่มีทั้งเสียค่าใช้จ่ายและบริการฟรี เช่น www.zoneedit.com และ www.mydomain.com ก็ได้เช่นกัน  แต่ทั้งนี้จะต้องมีความเข้าใจในเรื่องของระบบของชื่อโดเมนด้วย

เมื่อคุณสามารถที่จะเข้าไปแก้ไขข้อมูลต่างๆ ของชื่อโดเมนได้ด้วยตัวเองแล้ว  การที่จะเปลี่ยนผู้ให้บริการพื้นที่เว็บก็สามารถทำได้อย่างง่ายดาย  เพราะทันทีที่คุณทราบ name server ของผู้ให้บริการรายใหม่  คุณก็สามารถเข้าไปแก้ไข name server ได้ทันที  

domain_webhosting3.gif

ทั้งนี้อาจจะต้องรอให้ข้อมูลมีการอัพเดท ซึ่งโดยทั่วไปก็จะใช้ระยะเวลาไม่เกิน 24 ชั่วโมงครับ 🙂

ป.ล. ราคาค่าบริการเช่าพื้นที่เว็บของ Cyberbeing.biz ได้ปรับลดลงมาแล้วครับ 😉

วิธีการติดตั้ง Chrooted DNS Server (BIND9)

วิธีการติดตั้ง chrooted dns server สำหรับ CentOS

yum install bind-chroot 

chmod 755 /var/named/
chmod 775 /var/named/chroot/
chmod 775 /var/named/chroot/var/
chmod 775 /var/named/chroot/var/named/
chmod 775 /var/named/chroot/var/run/
chmod 777 /var/named/chroot/var/run/named/
cd /var/named/chroot/var/named/
ln -s ../../ chroot
chkconfig –levels 235 named on
/etc/init.d/named start

ที่มา: http://www.howtoforge.com/perfect_setup_centos_4.4_p4

Offsite DNS Server

ผมทำการเพิ่ม dns server ของที่ทำงานอีกตัวโดยให้อยู่คนละ network เพื่อช่วยเพิ่มความมั่นคงให้กับระบบเครือข่าย ผมดำเนินการทุกอย่างให้เรียบร้อยตั้งแต่ติดตั้ง bind และ config ให้เป็น slave ทดสอบและตรวจสอบข้อมูลทุกอย่าง จากนั้นจึงแจ้งไปที่ admin เพื่อให้เขาทำการเพิ่ม NS Record ให้กับ dns ตัวใหม่

สมมติว่าซับโดเมนของที่ทำงานผมคือ XYZ (ตัวอย่าง address ก็คือ www.XYZ.abc.ac.th)
DNS ของผมก็จะรับผิดชอบ อะไรก็ตามที่อยู่ภายใต้ XYZ.abc.ac.th

ผมต้องแจ้ง admin ที่ดูแล abc.ac.th เพื่อให้เขาเพิ่ม NS Record ของ XYZ อีกอัน
XYZ IN NS ns.newserver.com

จริงๆ ทำแค่ 5 นาทีก็น่าจะเสร็จ แต่เกิดความเข้าใจผิดของ admin ทำให้ต้องส่ง email โต้ตอบกัน 3-4 ฉบับ ฉบับสุดท้ายเขาไม่ตอบผม คาดว่าคงเกิดอาการเคืองอยู่บ้าง แต่ในที่สุดแล้วเขาก็ดำเนินการให้
ถ้ามี email โต้ตอบกันมากกว่านี้คงทำให้สถานะการณ์แย่ลงไปอีก

ผมพบว่ามีอยู่ 3 เว็บไซท์เจ๋งๆ ที่สามารถใช้ตรวจสอบการทำงานของ dns server ได้คือ

http://www.dnsreport.com/
http://www.dnsstuff.com/
http://www.squish.net/dnscheck/

เว็บไซต์ทั้ง 3 อันนี้ให้ขอมูลค่อนข้างเยอะ และยังสามารถตรวจสอบและให้คำแนะนำได้ว่าการตั้งค่าต่างๆ ถูกต้องเหมาะสมอย่างไร